แผนที่ - ท่าอากาศยานนานาชาติโกตากีนาบาลู (Kota Kinabalu International Airport)

ท่าอากาศยานนานาชาติโกตากีนาบาลู (Kota Kinabalu International Airport)
ท่าอากาศยานนานาชาติโกตากีนาบาลู (, KKIA) เป็นสนามบินตั้งอยู่ในรัฐซาบะฮ์ ตั้งอยู่ห่างจากใจกลางเมืองโกตากีนาบาลู ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ 8 km เป็นท่าอากาศยานที่หนาแน่นเป็นอันดับที่สองของประเทศมาเลเซีย รองจากท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ เนื่องจากมีผู้โดยสารมาใช้บริการถึง 6.9 ล้านคนต่อปี

อาคารผู้โดยสาร 1 มีเคาน์เตอร์เช็ค-อิน 64 ที่ ให้บริการสายการบินทั้งภายในและระหว่างประเทศ มีหลุมจอดเครื่องบิน 17 หลุม อาคารผู้โดยสารนี้รับผู้โดยสารได้สูงสุดถึง 3,200 คน ส่วนอาคารผู้โดยสาร 2 หรืออาคารหลังใหม่ รับเครื่องบินได้ 12 ลำ

โถงผู้โดยสารขาออก มียอดเสาเป็นลายแบบ "วากิด" ซึ่งในทางวัฒนธรรมของซาบะฮ์แล้ว วากิดเป็นสิ่งที่แสดงถึงความรื่นเริงและสนุกสนาน โถงมีพื้นที่ใช้สอยในชั้นที่หนึ่ง 24,128 ตารางเมตร ชั้นที่สอง 18,511.4 ตารางเมตร และชั้นที่สาม 22,339 ตารางเมตร

ท่าอากาศยานนานาชาติโกตากีนาบาลู ถูกใช้งานครั้งแรกในฐานะสนามบินขนาดเล็ก ก่อสร้างโดยกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่น ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เปิดใช้งานในชื่อ สนามบินเจตเซลตัน ซึ่งเป็นชื่อเดิมของเมืองโกตากีนาบาลู ก่อนสิ้นสุดสงคราม สนามบินได้ถูกทำลายโดยกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตร ในปี ค.ศ. 1945.

หลังจากสิ้นสุดสงคราม แผนกการบินพลเรือน (DCA) ของเกาะบอร์เนียวตอนเหนือ (รัฐซาบะฮ์ในปัจจุบัน) ได้ทำการก่อสร้างอาคารสนามบินใหม่อีกครั้ง ในปี ค.ศ. 1957 พร้อมกับเปลี่ยนผิวทางวิ่งจากหญ้าให้กลายเป็นวัสดุคงทน ต่อมาในปี ค.ศ. 1959 ได้มีการขยายทางวิ่งให้ยาวถึง 1,593 เมตร เพื่อรองรับเครื่องบินวิคเกอร์ วิสเคาต์ ของสายการบินมลายาแอร์เวย์ (ปัจจุบันสายการบินนี้ปิดทำการไปแล้ว) และได้ขยายทางวิ่งเพิ่มอีกครั้งในปี ค.ศ. 1963 โดยยาวถึง 1,921 เมตร เพื่อรองรับเครื่องบินไอพ่น คอเม็ท 4 ต่อมาในปี ค.ศ. 1967 สายการบินคาเธ่ย์แปซิฟิค ได้เปิดให้บริการเครื่องบิน คอนแวร์ 880 จำนวน 2 เที่ยวต่อสัปดาห์ ในเส้นทางฮ่องกง–มะนิลา–โกตากีนาบาลู (ปัจจุบันสายการบินนี้ ได้ยกเลิกจุดหมายปลายทางนี้แล้ว) ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทั้งจำนวนผู้โดยสารที่มาใช้บริการ และจำนวนเที่ยวบินที่ลงจอด ยังคงมีมากขึ้นเรื่อย ๆ

ในปี ค.ศ. 1969 ได้มีการวางแผนพัฒนาท่าอากาศยานนานาชาติโกตากีนาบาลู ในช่วงปี ค.ศ. 1970–2000 แผนพัฒนามีดังนี้

* ขยายทางวิ่งให้ยาวถึง 2,987 เมตร เพื่อรองรับเครื่องบินโบอิง 707 และโบอิง 747

* สร้างอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ และทางวิ่งสำหรับเตรียมตัวเพิ่มเติม

* ใช้อุปกรณ์อันทันสมัย และติดตั้งไฟสัญญาณที่ทางวิ่ง

ในปี ค.ศ. 1970–1989 มีการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ขึ้น เพื่อรองรับสายการบินส่วนใหญ่ ต่อมาในปี ค.ศ. 1992 กรมการบินพลเรือน และการท่าอากาศยานมาเลเซีย ได้เข้ามาควบคุมท่าอากาศยานแห่งนี้ 
 IATA Code BKI  ICAO Code WBKK  FAA Code
 เครื่องโทรศัพท์  โทรสาร  อีเมล
 Home Page  เฟซบุ๊ก  ทวิตเตอร์
แผนที่ - ท่าอากาศยานนานาชาติโกตากีนาบาลู (Kota Kinabalu International Airport)
แผนที่
ประเทศ - มาเลเซีย
แผนที่ - มาเลเซียMalaysia_relief_location_map.jpg
Malaysia_relief_loca...
1200x457
freemapviewer.org
แผนที่ - มาเลเซียmalaysia_pol98.jpg
malaysia_pol98.jpg
1456x1086
freemapviewer.org
แผนที่ - มาเลเซียMalaysia_regions_map.png
Malaysia_regions_map...
3008x1839
freemapviewer.org
แผนที่ - มาเลเซียmalaysia_rel98.jpg
malaysia_rel98.jpg
1440x1070
freemapviewer.org
สกุลเงินตรา / Language  
ISO สกุลเงินตรา สัญลักษณ์ เลขนัยสำคัญ
MYR ริงกิต (Malaysian ringgit) RM 2
ISO Language
ZH กลุ่มภาษาจีน (Chinese language)
TA ภาษาทมิฬ (Tamil language)
PA ภาษาปัญจาบ (Panjabi language)
ML ภาษามลยาฬัม (Malayalam language)
MS ภาษามลายู (Malay language)
TE ภาษาเตลูกู (Telugu language)
TH ภาษาไทย (Thai language)
Neighbourhood - ประเทศ  
  •  บรูไน 
  •  อินโดนีเซีย 
  •  ไทย