ภาษาสิงหล

ภาษาสิงหล
ภาษาสิงหล (සිංහල, siṁhala, ) เป็นภาษากลุ่มอินโด-อารยันที่พูดโดยชาวสิงหลในประเทศศรีลังกา ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีประชากรมากที่สุดบนเกาะ (มีจำนวนประมาณ 16 ล้านคน) กลุ่มชาติพันธุ์อื่นในศรีลังกาก็พูดภาษาสิงหลเป็นภาษาแม่ ซึ่งมีจำนวนประมาณ 2 ล้านคนใน ค.ศ. 2001 ภาษานี้เขียนด้วยอักษรสิงหล ซึ่งเป็นหนึ่งในตระกูลอักษรพราหมีที่สืบทอดจากอักษรพราหมีในอินเดียโบราณ โดยมีความใกล้ชิดกับอักษรครันถะ

ภาษาสิงหลเป็นหนึ่งในภาษาราชการและภาษาประจำชาติศรีลังกา โดยมีบทบาทหลักในการพัฒนาวรรณกรรมศาสนาพุทธนิกายเถรวาทร่วมกับภาษาบาลี

มีหลักฐานยืนยันรูปแบบแรกเริ่มของภาษาสิงหลมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสต์ศักราช ภาษาในจารึกซึ่งมีสระเสียงยาวและพยัญชนะธนิตเหล่านั้นเป็นภาษาปรากฤตที่คล้ายกับภาษามคธ ซึ่งเป็นภาษาระดับภูมิภาคที่พัฒนามาจากภาษาปรากฤตอินเดียสมัยกลางที่มีการใช้งานในสมัยพุทธกาล ภาษาที่ใกล้ชิดกับภาษาสิงหลคือภาษาแว็ททา (ภาษาครีโอลพื้นเมืองที่อยู่ในภาวะใกล้สูญ มีชาวสิงหลจำนวนน้อยที่พูดภาษานี้) และภาษามัลดีฟส์ ภาษานี้มีวิธภาษาสองวิธภาษาหลัก ได้แก่ วิธภาษาเขียนและวิธภาษาพูด และเป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดของปรากฏการณ์ทางภาษาศาสตร์ที่เรียกว่าทวิภาษณ์

สิงหล เป็นคำจากภาษาสันสกฤตซึ่งภาษาในยุคกลางที่เทียบได้คือ สีหละ ชื่อภาษานี้มาจากศัพท์ ซึ่งในภาษาสันสกฤตแปลว่า "สิงโต" บางครั้งแปลได้เป็น "ที่อยู่สิงโต" และอาจอิงถึงบริเวณเกาะที่ในอดีตเคยมีสิงโตชุกชุม

ประเทศ