ภาษาตากาล็อก

ภาษาตากาล็อก
ภาษาตากาล็อก เป็นหนึ่งในภาษาหลักของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ เป็นหนึ่งในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน มีความสัมพันธ์กับภาษาอินโดนีเซีย ภาษามลายู ภาษาฟิจิ ภาษาเมารี ภาษาฮาวาย ภาษามาลากาซี ภาษาซามัว ภาษาตาฮีตี ภาษาชามอร์โร ภาษาเตตุน และตระกูลภาษาออสโตรนีเซียนในไต้หวันเป็นภาษาประจำชาติและภาษาราชการคู่กับภาษาอังกฤษในประเทศฟิลิปปินส์ ใช้เป็นภาษากลางภายในประเทศ มีผู้พูดราว 85 ล้านคน ในทางธุรกิจนิยมใช้ภาษาอังกฤษมากกว่า

ภาษาตากาล็อกมีหน่วยเสียง 21 เสียง เป็นเสียงพยัญชนะ 16 เสียง เสียงสระ 5 เสียง ก่อนการเข้ามาของชาวสเปน ภาษาตากาล็อกมีเสียงสระเพียง 3 เสียง คือ /a/, /i/, และ /u/ มีคำยืมจากภาษาสเปนจึงเพิ่มสระอีก 2 เสียง คือ /ε/ และ /o/ นอกจากนั้นมีสระประสมเพิ่มอีก 4 เสียงคือ /aI/, /oI/, /aU/ และ /iU/ พยัญชนะในภาษาตากาล็อกไม่มีเสียงลมแทรก มีการเน้นเสียงหนักภายในคำที่ทำให้เสียงสระยาวขึ้นด้วย

ประเทศ
  • หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา
    หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา (Northern Mariana Islands; ชามอร์โร: Islas Mariånas) หรือชื่อทางการคือ เครือรัฐหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา (Commonwealth of the Northern Mariana Islands, CNMI; ชามอร์โร: Sankattan Siha Na Islas Mariånas) เป็นหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของประเทศสหรัฐอเมริกา หมู่เกาะนี้ประกอบด้วยเกาะ 14 เกาะ มีประชากรจำนวน 80,362 คน (พ.ศ. 2548)