กลุ่มภาษาจีน

กลุ่มภาษาจีน
ภาษาจีน (汉语 - 漢語 - Hànyǔ - ฮั่นอวี่, 华语 - 華語 - Huáyǔ - หัวอวี่ หรือ 中文 - Zhōngwén - จงเหวิน) เป็นหนึ่งในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ชาวจีนส่วนใหญ่ถือภาษาจีนพูดชนิดต่าง ๆ ว่าเป็นภาษาเดียว โดยทั่วไปแล้ว ภาษาพูดในกลุ่มภาษาจีนเป็นภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต์และไม่อ่านเนื่องเสียง อย่างไรก็ดี ยังมีความแตกต่างกันในภาษาพูดแต่ละภาษาอยู่มาก ความต่างเหล่านี้เทียบได้กับ ความแตกต่างระหว่างภาษาของภาษากลุ่มโรมานซ์ เราอาจแบ่งภาษาพูดของจีนได้ 6 ถึง 12 กลุ่ม ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ใช้ในการแบ่ง ที่เป็นที่รู้จักดี เช่น กลุ่มแมนดาริน กลุ่มหวู และกลุ่มกวางตุ้ง ยังเป็นที่โต้เถียงกันถึงปัจจุบันว่าภาษาพูดบางกลุ่มควรจัดเป็น "ภาษา" หรือเป็นแค่ "สำเนียง"

ประชากรประมาณ 1/5 ของโลกพูดภาษาจีนแบบใดแบบหนึ่งเป็นภาษาแม่ ทำให้เป็นภาษาที่มีคนพูดเป็นภาษาแม่มากที่สุด สำเนียงพูดที่ถือเป็นมาตรฐาน คือ สำเนียงปักกิ่ง หรือ ภาษาฮั่น ซึ่งอยู่ในกลุ่มภาษาแมนดาริน ภาษาจีนกลาง หรือ ภาษาจีนแมนดาริน (Standard Mandarin) เป็นภาษาทางการของสาธารณรัฐประชาชนจีน และสาธารณรัฐจีนหรือไต้หวัน เป็นหนึ่งในภาษาทางการ 4 ภาษาทางการของประเทศสิงคโปร์ (ร่วมกับ ภาษาอังกฤษ ภาษามลายู และภาษาทมิฬ) และเป็นหนึ่งใน 6 ภาษาที่ใช้ในองค์การสหประชาชาติ (ร่วมกับ ภาษาอังกฤษ ภาษาอาหรับ ภาษาฝรั่งเศส ภาษารัสเซีย และภาษาสเปน) ภาษาจีนกวางตุ้ง เป็นภาษาทางการของ ฮ่องกง (ร่วมกับภาษาอังกฤษ) และมาเก๊า (ร่วมกับภาษาโปรตุเกส)

นอกจากนี้ ภาษาเขียนยังได้เปลี่ยนแปลงตามระยะเวลา แต่การเปลี่ยนแปลงของภาษาเขียน ช้ากว่าการเปลี่ยนแปลงของภาษาพูดอย่างมาก จึงไม่ถูกจำกัดโดยความเปลี่ยนแปลงของภาษาพูดโดยส่วนใหญ่ ในปัจจุบัน ภาษาจีนใช้อักษรมาตรฐาน 2 รูปแบบทั่วโลก ได้แก่ อักษรจีนตัวเต็ม และ อักษรจีนตัวย่อ

แผนที่ด้านขวาแสดงพื้นที่ที่มีประชาชนพูด ทั้งภาษาและสำเนียงภาษาจีนต่างกันในประเทศจีน โดยพื้นฐาน เราอาจแบ่งกลุ่มภาษาจีนออกเป็น 7 กลุ่มใหญ่ ๆ ตามจำนวนประชากรที่พูดได้ ดังนี้ นอกจากนี้ นักภาษาศาสตร์ยังได้แบ่งกลุ่มภาษาจีนออกมาจากกลุ่มใหญ่ข้างบนอีก 3 ประเภท ได้แก่

* จีนกลาง หรือ ภาษาฮั่น หรือ แมนดาริน (จีนตัวเต็ม: 官話, จีนตัวย่อ: 官话, พินอิน: Guānhuà กวานฮว่า, คำแปล: ภาษาทางการ) หรือ สำเนียงทางเหนือ (จีน: 北方方言, พินอิน:Běifāngfāngyán เป่ยฟังฟังเอี๋ยน)

* ง่อ (จีนตัวเต็ม: 吳方言, จีนตัวย่อ: 吴方言, พินอิน: Wú fāng yán อู๋ฟางเอี๋ยน, คำแปล: สำเนียงอู๋) หรือ (จีนตัวเต็ม: 吳語, จีนตัวย่อ: 吴语, พินอิน: wú yǔ อู๋อวี่, คำแปล: ภาษาอู๋) ในมณฑลเจียงซู

* กวางตุ้ง (จีนตัวเต็ม: 粵語, จีนตัวย่อ: 粤语, พินอิน: Yue yǔ เยว้-อวี่, คำแปล: ภาษากวางตุ้ง)

* ฮกเกี้ยน หรือ หมิ่น (จีนตัวเต็ม: 閩方言, จีนตัวย่อ: 闽方言, พินอิน: Mǐnfāngyán หมิ่นฟางเอี๋ยน, คำแปล: สำเนียงหมิ่น) ในมณฑลฝูเจี้ยนหรือฮกเกี้ยน

* เซียง (จีนตัวเต็ม: 湘語, จีนตัวย่อ: 湘语, พินอิน: Xīang yǔ เซียงอวี่, คำแปล: ภาษาในมณฑลหูหนาน)

* แคะ (จีนตัวเต็ม: 客家話, จีนตัวย่อ: 客家话, พินอิน: Kèjiāhuà เค้อเจียฮว่า, คำแปล: ภาษาแคะ) หรือ ฮักกา
ประเทศ
  • มาเก๊า
    มาเก๊า หรือ เอ้าเหมิน มีชื่อทางการว่า เขตบริหารพิเศษมาเก๊าแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นพื้นที่บนชายฝั่งทางใต้ของประเทศจีน ปกครองโดยประเทศโปรตุเกสก่อนพ.ศ. 2542 เป็นอาณานิคมของยุโรปที่เก่าแก่ที่สุดในจีน ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 อำนาจอธิปไตยเหนือมาเก๊าได้ย้ายไปที่สาธารณรัฐประชาชนจีนในพ.ศ. 2542 กลายเป็นเขตปกครองพิเศษของจีน โดยมีฐานะเป็น เขตบริหารพิเศษ ของจีนภายใต้หลักการ “หนึ่งประเทศสองระบบ” เป็นเวลา 50 ปี จากวันที่ 19 ธันวาคม 2542 จนถึงปี วันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2592

    มาเก๊าได้มีบทบาทที่มีอิทธิพลต่อจีนและตะวันตกโดยเฉพาะระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 16 และ คริสต์ศตวรรษที่ 19 ผู้ที่อาศัยอยู่ในมาเก๊าส่วนใหญ่พูดภาษากวางตุ้งเป็นภาษาแม่ ภาษาจีนกลาง ภาษาโปรตุเกส และภาษาอังกฤษก็มีพูดด้วย ชาวมาเก๊า (Macanese) มีความหมายโดยกว้าง ๆ คือผู้ที่พำนักอาศัยถาวรอยู่ในมาเก๊า ส่วนในวงแคบ หมายถึง ชนพื้นเมืองในมาเก๊าที่สืบทอดมาจากชาวโปรตุเกส มักจะผสมกับชาวจีนและบรรพบุรุษชาติอื่น ๆ นอกจากสิ่งที่เหลือจากประวัติศาสตร์ยุคอาณานิคมแล้ว
  • ฮ่องกง
    ฮ่องกง หรือ เซียงก่าง (Hong Kong; 香港) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (Hong Kong Special Administrative Region of the People's Republic of China) เป็นเขตปกครองตนเองริมฝั่งทางตอนใต้ของประเทศจีนอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกในทางภูมิศาสตร์ มีสามเหลี่ยมปากแม่น้ำจูเจียงและทะเลจีนใต้โอบรอบ ด้วยเนื้อที่ 1,104 ตารางกิโลเมตร และประชากรกว่า 7.5 ล้านคน ถือเป็นเขตปกครองที่มีประชากรอยู่อาศัยหนาแน่นที่สุดแห่งหนึ่งในโลก ฮ่องกงยังเป็นหนึ่งในเขตปกครองตนเองที่พัฒนามากที่สุดในโลก, เป็นเมืองที่มีจำนวนตึกระฟ้ามากที่สุดในโลก และมีราคาอสังหาริมทรัพย์ที่แพงที่สุดแห่งหนึ่งของโลก

    ประวัติศาสตร์ของฮ่องกงเริ่มต้นจากการเป็นอาณานิคมของสหราชอาณาจักร (ฮ่องกงของบริเตน) หลังจากจีนพ่ายแพ้ในสงครามฝิ่น เกาะฮ่องกง และดินแดนตอนปลายคาบสมุทรเกาลูนตกเป็นอาณานิคมใน ค.ศ. 1842 และ 1860 ตามลำดับ อาณานิคมขยายไปถึงคาบสมุทรเกาลูนหลังสงครามฝิ่นครั้งที่สอง และขยายออกไปอีกเมื่อสหราชอาณาจักรทำสัญญาเช่าดินแดนเป็นเวลา 99 ปีใน ค.ศ. 1898 ฮ่องกงของบริเตนถูกยึดครองโดยจักรวรรดิญี่ปุ่นตั้งแต่ ค.ศ. 1941 ถึง 1945 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองก่อนจะกลับมามีสถานะเดิมอีกครั้งหลังการยอมจำนนของญี่ปุ่น ต่อมา สหราชอาณาจักรทำสัญญาส่งมอบดินแดนทั้งหมดคืนให้แก่ประเทศจีนใน ค.ศ. 1997 และมีสถานะเป็นหนึ่งในสองเขตบริหารพิเศษของจีน (อีกแห่งคือมาเก๊า) แต่จีนได้รับรองให้ฮ่องกงสามารถรักษาระบอบการปกครองและเศรษฐกิจที่แยกจากประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ได้ โดยอยู่ภายใต้หลักการของ "หนึ่งประเทศ สองระบบ" มานับแต่นั้น
  • เกาะคริสต์มาส
    ดินแดนเกาะคริสต์มาส (Territory of Christmas Island, 圣诞岛领地, Wilayah Pulau Krismas) หรือโดยย่อว่า เกาะคริสต์มาส (Christmas Island, 圣诞岛, Pulau Krismas) เป็นเกาะเล็ก ๆ ในมหาสมุทรอินเดีย มีพื้นที่เพียง 135 ตารางกิโลเมตร เป็นดินแดนส่วนนอกของประเทศออสเตรเลีย อยู่ห่างจากเพิร์ท รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ 2,360 กิโลเมตร และห่างจากกรุงจาการ์ตาของประเทศอินโดนีเซียไปทางใต้ 500 กิโลเมตร

    การสำรวจสำมะโนครัวประชากรบนเกาะเมื่อ ค.ศ. 2021 มีประชากรทั้งหมด 1,692 คน โดยมากตั้งถิ่นฐานบริเวณตอนเหนือของเกาะ มีนิคมใหญ่สุดคือฟลายอิงฟิชโคฟ (หรือเดอะเซตเทิลเมนต์) ประชากรราวสองในสามเป็นชาวมาเลเซียเชื้อสายจีนหรือชาวสิงคโปร์เชื้อสายจีน แต่ในการสำรวจสำมะโนครัวประชากรครั้งล่าสุดพบว่ามีเพียงร้อยละ 21.2 เท่านั้น รองลงมาเป็นชาวมลายูและชาวออสเตรเลียเชื้อสายยุโรป ส่วนประชากรกลุ่มย่อยได้แก่ ชาวมาเลเซียเชื้อสายอินเดีย และชาวยูเรเชีย ภาษาหลักที่ใช้คือภาษาอังกฤษ จีน และมลายู ส่วนศาสนาหลักบนเกาะคือศาสนาอิสลามและศาสนาพุทธ ประชากรจำนวนไม่น้อยนับถือศาสนาแต่ไม่ได้ระบุชื่อศาสนาที่นับถือ
  • ประเทศตรินิแดดและโตเบโก
    ตรินิแดดและโตเบโก (Trinidad and Tobago, ) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐตรินิแดดและโตเบโก (Republic of Trinidad and Tobago) เป็นชาติที่ตั้งอยู่ในทะเลแคริบเบียนมีบางส่วนติดทวีปอเมริกาใต้ ตั้งอยู่ห่างจากชายฝั่งเวเนซุเอลา 11 กิโลเมตร เป็นรัฐที่เป็นหมู่เกาะ ประกอบด้วยเกาะหลัก 2 เกาะคือ เกาะตรินิแดด เกาะโตเบโก และเกาะเล็กอื่น ๆ อีก 21 เกาะ โดยตรินิแดดเป็นเกาะที่ใหญ่กว่าและมีประชากรมากกว่า ในขณะที่โตเบโกมีขนาดเล็กกว่า (303 ตารางกิโลเมตร ประมาณร้อยละ 6 ของพื้นที่ประเทศทั้งหมด) และมีประชากรน้อยกว่า (50,000 คน ร้อยละ 4 ของจำนวนประชากรทั้งหมด) ในภาษาอังกฤษ พลเมืองมีชื่อเรียกเป็นทางการว่า Trinidadians (ชาวตรินิแดด) หรือ Tobagonians (ชาวโตเบโก) หรือ Citizens of Trinidad and Tobago (ชาวตรินิแดดและโตเบโก) แต่ก็มีชื่อเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า Trinis หรือ Trinbagonians

    ตรินิแดดและโตเบโกมีลักษณะต่างจากประเทศในภูมิภาคแคริบเบียนที่ใช้ภาษาอังกฤษประเทศอื่น ๆ คือมีการประกอบอุตสาหกรรมเป็นส่วนใหญ่ โดยมีพื้นฐานเศรษฐกิจอยู่บนปิโตรเลียมและปิโตรเคมี
  • ประเทศปาเลา
    ปาเลา (Palau; ปาเลา: Belau) มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐปาเลา (Republic of Palau; ปาเลา: Beluu er a Belau ) เป็นประเทศหมู่เกาะขนาดเล็กทางตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก ประกอบด้วยเกาะ 340 เกาะทางตะวันตกของหมู่เกาะแคโรไลน์ เนื้อที่รวมประมาณ 466 ตารางกิโลเมตร เกาะที่มีประชากรมากที่สุดคือคอรอร์ เมื่องหลวงชื่อเงรุลมุด มีอาณาเขตทางทะเลติดต่อกับประเทศไมโครนีเชียทางตะวันออก ประเทศอินโดนีเซียทางใต้ และประเทศฟิลิปปินส์ทางตะวันออกเฉียงหนือ ได้รับเอกราชในปี พ.ศ. 2537 เป็นหนึ่งในชาติที่ใหม่ที่สุดและมีประชากรน้อยที่สุดในโลก

    สันนิษฐานว่าชนพื้นเมืองของปาเลาเป็นพวกที่อพยพมาจากหมู่เกาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อกว่า 3,000 ปีมาแล้ว ส่วนชาวยุโรปพวกแรกที่เดินทางมาถึงปาเลาเป็นชาวสเปน แต่ไม่มีการตั้งถิ่นฐานจริงจังจนกระทั่งเรือของอังกฤษอัปปางนอกฝั่งปาเลา จึงทำให้ชาวอังกฤษเริ่มรู้จักเกาะนี้ และกลายเป็นคู่ค้าหลัก ในขณะเดียวกันโรคติดต่อที่มาจากชาวยุโรปก็คร่าชีวิตชาวเกาะเป็นจำนวนมาก
  • หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา
    หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา (Northern Mariana Islands; ชามอร์โร: Islas Mariånas) หรือชื่อทางการคือ เครือรัฐหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา (Commonwealth of the Northern Mariana Islands, CNMI; ชามอร์โร: Sankattan Siha Na Islas Mariånas) เป็นหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของประเทศสหรัฐอเมริกา หมู่เกาะนี้ประกอบด้วยเกาะ 14 เกาะ มีประชากรจำนวน 80,362 คน (พ.ศ. 2548)