แผนที่ - อำเภอแก่งคอย (Amphoe Kaeng Khoi)

อำเภอแก่งคอย (Amphoe Kaeng Khoi)
แก่งคอย เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสระบุรี

อำเภอแก่งคอย ก่อตั้งขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช 2370 ในขณะนั้น ยังใช้ชื่อเรียกหน่วยงานการปกครองระดับอำเภอว่า "แขวง" อยู่โดยมีหลวงพลกรมการเป็น ผู้ปกครองแขวงคนแรก และมีที่ทำการแขวง อยู่ที่บ้านตาลเดี่ยว พุทธศักราช 2440 มีการตราพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองท้องที่ ร.ศ.116 ขึ้น กำหนด รูปแบบการปกครองใหม่ โดยเปลี่ยนนามเรียกขายจาก"แขวง"เป็น"อำเภอ"และให้มีการปกครองระดับตำบล หมู่บ้าน เป็นหน่วยงานการปกครองระดับรองลงไป ภายหลังที่ใช้ชื่อหน่วยงานการปกครองว่า "อำเภอ" ได้มีการย้ายที่ทำการ รวม 2 ครั้ง คือ พุทธศักราช 2448 ย้ายที่ว่าการอำเภอจากริมแควป่าสักมาสร้างขึ้นที่ ริมทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือทางด้านทิศตะวันตกของสถานีรถไฟแก่งคอย ต่อมาเมื่อพุทธศักราช 2497 ทางราชการได้เวนคืนที่ดินบริเวณอำเภอให้แก่ การรถไฟแห่งประเทศไทยและสร้างที่ว่าการอำเภอแก่งคอยในที่ปัจจุบัน อย่างไรก็ตามในส่วนของอาคารที่ว่าการอำเภอนั้น ได้มีการเปลี่ยนแปลงใหม่ 1 ครั้ง ในปี พุทธศักราช 2505 โดยสร้างตามแบบที่ว่าการอำเภอชั้นตรี(ไม้สองชั้น)ของกรมโยธาธิการเลขที่ 6186 ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 300,000 บาท (สามแสนบาทถ้วน) อาคารนี้แล้วเสร็จในปีพุทธศักราช 2506 และ ฯพณฯ พลเอกประภาส จารุเสถียร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ขณะนั้นได้มาเป็น ประธานในพิธีเปิดป้าย อาคารในวันที่ 10 เมษายน 2535 จึงได้มีการรื้ออาคารและก่อสร้างใหม่ตามแบบมาตรฐาน เป็นอาคารคอนกรีต 2 ชั้น แล้วเสร็จ ในเดือนตุลาคม 2535 ซึ่งเป็นอาคารที่ว่าการอำเภอในปัจจุบัน

ชื่อ "แก่งคอย" มาจากบริเวณลำน้ำป่าสักบริเวณด้านหน้าวัดเป็นแก่งหินใหญ่ขวางลำน้ำ แม่น้ำป่าสักเป็นเส้นทางสัญจรค้าขายจากเพชรบูรณ์ ชัยบาดาล แก่งคอย สระบุรี เสาไห้ พระนครศรีอยุธยา มาตั้งแต่ในอดีต ในหน้าแล้งน้ำน้อยแก่งหินที่ขวางทำให้เรือสัญจรไม่สะดวกจะต้องจอดคอยที่บริเวณเหนือแก่ง เป็นที่มาการเรียกแม่น้ำป่าสักช่วงนี้ว่า "แก่งคอย" ภายหลังเมื่อสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ในพระราชดำริ มีการควบคุมระดับน้ำทำให้ในหน้าแล้งก็ยังมีระดับน้ำท่วมบริเวณแก่งหินอยู่

บางตำนานเชื่อกันว่า แก่งคอยเดิมมีชื่อว่า "แร้งคอย" เนื่องจากเป็นปากทางเข้าสู่เขาใหญ่ มีผู้คนจำนวนมากล้มตายจากไข้ป่าจนมีนกแร้งมาเฝ้าคอยเพื่อกินศพเป็นจำนวนมาก เป็นอำเภอที่มีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่อยู่เป็นจำนวนมาก เช่น โรงงานปูนซีเมนต์ โรงไฟฟ้า โรงงานเซรามิก เคมีภัณฑ์ เป็นต้น และยังเป็นชุมทางรถไฟที่สำคัญ ประกอบกับมีถนนมิตรภาพตัดผ่าน ทำให้มีโรงงานจำนวนมากและมีประชากรแฝงเข้ามาทำงานจำนวนมาก

* วันที่ 25 กันยายน 2482 เปลี่ยนแปลงชื่อตำบลบ้านลาว อำเภอแก่งคอย เป็น ตำบลทับกวาง และเปลี่ยนชื่อตำบลหลุบเลา อำเภอแก่งคอย เป็น ตำบลตาลเดี่ยว

* วันที่ 14 ตุลาคม 2484 เปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดลพบุรี กับจังหวัดสระบุรี โดยโอนพื้นที่อำเภอชัยบาดาล นอกจากตำบลคำพราน จังหวัดสระบุรี ไปขึ้นกับจังหวัดลพบุรี และท้องที่ตำบลคำพราน ให้มาขึ้นกับอำเภอแก่งคอย

* วันที่ 26 ธันวาคม 2487 จัดตั้งเทศบาลตำบลแก่งคอย ในท้องที่บางส่วนของตำบลแก่งคอย

* วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลตาลเดี่ยว แยกออกจากตำบลแก่งคอย และตั้งตำบลท่าตูม แยกออกจากตำบลบ้านธาตุ

* วันที่ 3 สิงหาคม 2491 โอนพื้นที่หมู่ 1 (ในขณะนั้น) ของตำบลแก่งคอย ไปตั้งเป็นหมู่ 9 ของตำบลบ้านป่า และโอนพื้นที่หมู่ 2,3,4,5 (ในขณะนั้น) ของตำบลแก่งคอย ไปตั้งเป็นหมู่ 8,7,9,10 ของตำบลตาลเดี่ยว ตามลำดับ

* วันที่ 4 กรกฎาคม 2504 ตั้งตำบลหนองบัว แยกออกจากตำบลคำพราน และตำบลหินซ้อน 
แผนที่ - อำเภอแก่งคอย (Amphoe Kaeng Khoi)
ประเทศ - ไทย
สกุลเงินตรา / Language  
ISO สกุลเงินตรา สัญลักษณ์ เลขนัยสำคัญ
THB บาท (Thai baht) ฿ 2
ISO Language
TH ภาษาไทย (Thai language)
Neighbourhood - ประเทศ  
  •  มาเลเซีย 
  •  ลาว 
  •  สาธารณรัฐเขมร 
  •  เมียนมา