แผนที่ - อำเภอจัตุรัส (Amphoe Chatturat)

อำเภอจัตุรัส (Amphoe Chatturat)
จัตุรัส เป็นอำเภอชั้นหนึ่งของจังหวัดชัยภูมิ ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน เดิมชื่อ “เมืองสี่มุม” ตั้งเมืองในปี พ.ศ. 2311 ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี โดยให้ขึ้นตรงต่อเมืองนครราชสีมา มี “พระนรินทร์สงคราม” เป็นเจ้าเมืองปกครองสืบต่อกันมาถึง 6 องค์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2440 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ยกเลิกระบบเจ้าเมือง(อาญาสี่) ของหัวเมืองลาวทั่วภาคอีสาน เมืองสี่มุมจึงถูกยุบ และจัดตั้งเป็นอำเภอจัตุรัส

อำเภอจัตุรัส เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจการค้า การศึกษา การแพทย์ คมนาคม สังคมและวัฒนธรรมทางตอนใต้ของจังหวัดชัยภูมิ เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด 1 ใน 6 โครงการ แผนพัฒนาเมืองชัยภูมิ 12 ปี (พ.ศ. 2556-2567) คือ พัฒนาเมืองจัตุรัสให้เป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งและการจัดการการส่งสินค้า เป็นจุดขนถ่ายสินค้าและจุดพักรถขนสินค้าทั้งทางรถไฟและรถยนต์ จากภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนและตอนกลาง สู่ท่าเรือและท่าอากาศยานนานาชาติ

อำเภอจัตุรัส เดิมมีฐานะเป็นเมืองชื่อ “เมืองสี่มุม” เจ้าเมืององค์แรกคือ “พระนรินทร์สงคราม” มีชื่อเดิมว่า “คำ” หรือชาวบ้านเรียกท่านว่า “อาจารย์คำ” เพราะเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ ทางโหราศาสตร์ และวิชาอาคมอยู่ยงคงกระพัน เป็นชาวลาวอพยพมาจากเวียงจันทน์ มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านนารายณ์ เมืองนครราชสีมา (ปัจจุบันอยู่ในท้องที่ตำบลจอหอ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา) ต่อมาได้ย้ายถิ่นฐานมาอยู่บ้านสี่มุมและเป็นผู้นำหมู่บ้านชื่อบ้านสี่มุม สันนิษฐานว่าตั้งชื่อตามชื่อของแหล่งน้ำที่ชุมชนอาศัย คือ กุดสี่มุม ปัจจุบันอยู่ในท้องที่อำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ ครั้นเมื่อ พ.ศ. 2311 พระเจ้าตากสินหรือพระเจ้ากรุงธนบุรียกทัพมาปราบก๊กเจ้าพิมาย ซึ่งมีกรมหมื่นเทพพิพิธเป็นหัวหน้าก๊ก ตั้งมั่นอยู่ที่เมืองพิมายและต่อมาได้ ยึดเมืองนครราชสีมาเป็นที่ตั้งมั่น เจ้าพิมายให้พระยาวรวงษาธิราชคุมทัพไปตั้งรับเพื่อตีสกัดทัพพระเจ้าตากสินที่ด่านขุนทดและถูกกองทัพ พระเจ้าตากสินตีจนแตกพ่ายในที่สุดในกรณีศึกครั้งนี้อาจารย์คำผู้นำหมู่บ้านสี่มุมได้นำชาวบ้านเข้าสวามิภักดิ์ต่อพระเจ้าตากสินและขออาสาเป็น กองกำลังร่วมสู้รบในกองทัพหลวงด้วย พระเจ้าตากสินทรงยินดีรับไว้และให้เป็นกองกำลังเข้าตีด่านจอหอจนแตกพ่ายสามารถยึดเมืองพิมายและเมืองนครราชสีมาคืนมาได้ในครั้งเข้าตีด่านจอหอ กองกำลังของบ้าน สี่มุมโดยการนำของอาจารย์คำได้แสดงความสามารถในการรบอย่างกล้าหาญ เข้มแข็งเป็นที่พอพระทัยพระเจ้าตากสินเป็นอย่างมาก เมื่อเสร็จการศึกสงครามจึงได้ปูนบำเหน็จความชอบให้อาจารย์คำเป็น “พระนรินทร์สงคราม” ยกฐานะบ้านสี่มุมขึ้นเป็น “เมืองสี่มุม” ให้ปกครองเมืองสี่มุมให้ขึ้นตรงต่อเมืองนครราชสีมา นอกจากนี้แล้วอาจารย์คำและกองกำลังบ้านสี่มุมยังได้ เป็นกำลังสำคัญของกองทัพกรุงธนบุรี ในสงครามปราบก๊กต่างๆ ตลอดทั้งเป็นบุคคลสำคัญในกองทัพของสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกในการ ปราบปรามหัวเมืองฝ่ายตะวันออกเฉียงเหนืออีกด้วย เมืองสี่มุมมีเจ้าเมืองปกครองสืบต่อกันมาตามลำดับ ดังนี้

* 1) พระนรินทร์สงคราม (อาจารย์คำ)

* 2) พระยานรินทร์สงคราม (ทองคำ)

* 3) พระนรินทร์สงคราม (บุตร)

* 4) พระนรินทร์สงคราม (เสา)

* 5) พระนรินทร์สงคราม (บุญเฮ้า)

* 6) พระนรินทร์สงคราม (ทองดี) เจ้าเมืองสี่มุมองค์สุดท้าย และนายอำเภอคนแรกของอำเภอจัตุรัส

 
แผนที่ - อำเภอจัตุรัส (Amphoe Chatturat)
ประเทศ - ไทย
สกุลเงินตรา / Language  
ISO สกุลเงินตรา สัญลักษณ์ เลขนัยสำคัญ
THB บาท (Thai baht) ฿ 2
ISO Language
TH ภาษาไทย (Thai language)
Neighbourhood - ประเทศ  
  •  มาเลเซีย 
  •  ลาว 
  •  สาธารณรัฐเขมร 
  •  เมียนมา